หมอดื้อ

ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha


แต่เป็นที่น่าสงสัยว่าในกรณีของวัคซีนโควิด เหตุใดภาระในการจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว
Spread the love

⁉️ ทำไม บริษัทยาได้กำไรจากการขายวัคซีนโควิดให้รัฐบาล แต่ค่าชดเชยให้ผู้ได้รับผลกระทบจากวัคซีนมาจากภาษีเรา?

ตามปกติเมื่อเราซื้อสินค้าใดๆ แล้วสินค้านั้นผลิตไม่ได้มาตรฐานจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภค

บริษัทผู้ผลิตสินค้าจะเป็นผู้ที่จ่ายค่าชดเชยให้กับผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายดังกล่าว หลักการนี้เป็นหลักการพื้นฐานทั่วโลกในการคุ้มครองผู้บริโภค และเป็นสาระสำคัญของ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพุทธศักราช ๒๕๒๒ (1)

กลับเป็นภาระของประชาชน ใช้เงินจาก สปสช. ซึ่งเป็นเงินภาษี ประชาชนมาจ่าย

ทั้งๆที่เป็นที่ทราบกันดีว่า วัคซีนโควิดที่รัฐบาลนำมาฉีดให้คนไทยนั้น รัฐบาลจัดซื้อจากบริษัทยาด้วยภาษีของประชาชน

และเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า

บริษัทยาเหล่านั้นทำกำไรมหาศาลจากการขายวัคซีนให้รัฐบาลต่างๆทั่วโลก

🛑 ปัญหาคือ

เมื่อวัคซีนเหล่านั้นก่อปัญหา

สร้างผลข้างเคียงให้กับผู้บริโภค จนถึงขั้นเสียชีวิต เสียอวัยวะ พิการ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง กลับเป็นภาครัฐที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้เสียหาย ค่าชดเชยที่มาจากภาษีของประชาชน โดยที่บริษัทยาไม่ต้องเอากำไรของตนมาจ่ายให้แม้แต่บาทเดียว

ปัจจุบันภาครัฐ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้นำภาษีของประชาชน ไปจ่ายค่าชดเชยแทนบริษัทยาไปแล้วกว่า สองพันห้าร้อยล้านบาท (2)

โดยระบุเป็น “เงินช่วยเหลือเบื้องต้น”

📢📢📢 คำถามคือ แล้วเงินช่วยเหลือที่สมควรได้รับจริงๆใครจะต้องเป็นผู้จ่าย?

▪︎ ควรจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์ ซึ่งคือ บริษัทยาไหม

▪︎ หรือควรจะเป็น ผู้ที่มีหน้าที่กำกับดูแลตรวจสอบความปลอดภัย อย่าง อ . ย .

▪︎ หรือแพทย์ที่สั่งให้ฉีดยา

▪︎ หรือว่าหน่วยงานที่บังคับให้ฉีดยา

▪︎ หรือผู้ที่ไปเซ็นสัญญากับบริษัทยา

▪︎ หรือว่าคนที่เป็นกองเชียร์ช่วยบริษัทขายยา

📌📌 ก็ฝากให้ไปช่วยกันคิดคำตอบกันหน่อยนะครับ ได้คำตอบว่ายังไงอย่าลืมมาแบ่งปันกันมั่ง

(1) https://www.ocpb.go.th/…/art…/article_20200221144401.pdf

(2) https://subsidy.nhso.go.th/subsidy/#/dashboard