หมอดื้อ

ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha


2567 ข่าวปลอมเริ่มทะยอยกลายเป็นจริง
Spread the love

รัฐบาลแอฟริกาใต้ ถูกศาลสูงสั่งให้เปิดเผยสัญญาที่ทำไว้กับบริษัทไฟเซอร์

คงจำกันได้ในช่วงที่มีการเรียกร้องให้มีการจัดหา วัคซีน จากบริษัทไฟเซอร์ แต่ไม่มีบริษัทเอกชนรายใดสามารถนำเข้าวัคซีนไฟเซอร์ได้ ด้วยสาเหตุสำคัญคือ บริษัทเอกชนเหล่านั้นไม่สามารถให้สัญญากับบริษัทไฟเซอร์ในเงื่อนไขที่ทางบริษัทต้องการได้ จนในที่สุดรัฐบาล โดยกรมควบคุมโรคต้องเป็นผู้ลงนามในสัญญาซื้อวัคซีนดังกล่าวกับบริษัทไฟเซอร์ คำถามคือ เงื่อนไขใดที่บริษัทเอกชนไทยไม่สามารถให้สัญญากับไฟเซอร์ได้?

คำตอบ คือ ไฟเซอร์ต้องการให้ระบุในสัญญาว่า หากฉีดวัคซีนที่อยู่ระหว่างทดลองของตนแล้ว เกิดผลข้างเคียงใดๆขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาการเพียงเล็กน้อย พิการ หรือถึงขั้นเสียชีวิต ไฟเซอร์ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าในทางกฎหมาย หรือในทางการเงิน มีความพยายามที่จะขอดูเอกสารสัญญาดังกล่าวในหลายประเทศทั่วโลก แต่รัฐบาลต่างๆทั่วโลกกลับร่วมมือกับบริษัทไฟเซอร์ ปกปิดสัญญาเหล่านั้น ยังโชคดีที่มีกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อความโปร่งใส เป็นธรรมในประเทศแอฟริกาใต้ ได้ฟ้องร้องรัฐบาลให้เปิดเผยสัญญา “ทาส” ฉบับดังกล่าว ในที่สุดศาลสูงของประเทศแอฟริกาก็มีคำสั่งให้เปิดเผยเอกสารสัญญาดังกล่าว เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๖ โดยมีการนำเอกสารสัญญานั้นมาวิเคราะห์ในรายละเอียดและพบว่า เป็นสัญญาที่บริษัทไฟเซอร์เอาเปรียบคู่สัญญา ซึ่งคือ รัฐบาลประเทศแอฟริกาใต้เป็นอย่างมาก สามารถอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้เอกสารได้ที่เว็บไซด์นี้ Pandemic Transparency – Health Justice Initiative (HJI) แต่ประเด็น ที่สำคัญคือ ในสัญญาดังกล่าวได้ระบุให้ รัฐบาลต้องให้หลักประกันว่า ไฟเซอร์จะไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลข้างเคียงใดๆจากวัคซีน โคเมอร์เนตี หรือ วัคซีนโควิด mRNA ของตน เป็นที่ทราบกันดีว่า ไฟเซอร์ใช้สัญญามาตรฐานที่มีเงื่อนไขเดียวกันเซ็นกับรัฐบาลต่างๆทั่วโลก สัญญาที่ไฟเซอร์เซ็นกับรัฐบาลไทยจึงอาจมีเงื่อนไขที่ว่านี้ด้วย อันอาจเป็นสาเหตุให้ สปสช ต้องใช้เงินภาษีของประชาชนไปจ่ายเป็นค่าชดเชยกับผู้ที่ได้รับผล

กระทบจากวัคซีนแทนบริษัทไฟเซอร์ กระทรวงสาธารณสุข โดยท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมควบคุมโรคอาจจะออกมาให้สัมภาษณ์ปฏิเสธเรื่องดังกล่าว แต่วิธีที่ดีที่สุดในการปฏิเสธ คือการเปิดเผยสัญญาที่ทางรัฐบาลได้ทำไว้กับบริษัทไฟเซอร์ในสังคมได้ตรวจสอบ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีการฟ้องร้องเหมือนที่เกิดขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้

ซึ่งเกิดจากการขาดหลัก

ธรรมาภิบาล ขาดความโปร่งใส ไม่ต้องการให้สังคมสามารถตรวจสอบได้ และยังรวมถึงกรรมการ สถาบัน และสำนักงานอาหารและยา

https://x.com/MarkAttwood/status/1753540349018915135…

https://healthjusticeinitiative.org.za/pandemic…/

https://healthjusticeinitiative.org.za/…/state-to…/