คุณภาพชีวิต

Read Time:1 Minute, 38 Second
การวิจัยเรื่องยีนส์ในวารสาร Nature ได้ชี้ว่าคนเราจะมีอายุได้ยืนยาวเต็มเหนี่ยวอยู่ประมาณ 115 ปี เท่านั้น และส่วนมากก็จะอยู่ได้ถึงแค่ 90 ปี
ในช่วงปี 1900 ถึง 1950 อายุเฉลี่ยของคนอเมริกันเพิ่มจาก 47 เป็น 68 ซึ่งเพิ่มมา 42% เลยทีเดียว แต่จาก 1950 ถึง 2000 อายุเฉลี่ยเพิ่มจาก 68 เป็น 77 คิดเป็นแค่ 13% เท่านั้นเอง
แล้วหลังจากปี 2000 ผลสำรวจในปี 2014 อายุเฉลี่ยเท่าเดิม แต่ใน 2016 อายุเฉลี่ยเริ่มลดลง นักวิทยาศาสตร์มองว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า อายุเฉลี่ยคงจะอยู่ประมาณนี้ละ คงจะไม่เพิ่มขึ้นในเร็วๆนี้แน่
คนสูงอายุถึงจะได้รับการรักษาที่ล้ำลึกและแพงที่สุด ก็จะได้ปีที่แข็งแรงเพิ่มขึ้นมาไม่มากเท่าไหร่ และแสดงไห้เห็นว่าเราได้เข้าสู่ยุคที่การลงทุนทางการแพทย์จะได้รับผลตอบแทนทางสุขภาพน้อยลงเรื่อยๆ
เงินที่ใช้จากจุดหมายนี้ มาแบ่งให้เพิ่มในการศึกษา การปฎิบัติที่ทำให้ใช้ได้จริงๆตอนนี้ และสามารถเห็นผลมีประโยชน์ชัดๆจับต้องได้ ก็คือทำไห้สุขภาพประชากรโดยรวมดีขึ้น จะเป็นไปได้ไหม?
นอกจากสุขภาพแล้ว เงินก้อนใหญ่นี้ก็สามารถนำมาลงทุนกับการศึกษา อาหารสุขภาพ สวนสาธารณะ การขนส่งสาธารณะ บ้าน ที่อยู่ และการลดความต่างของชนชั้น ซึ่งจะส่งผลดีโดยตรงต่อสังคมเราทันที
การลงทุนกับสิ่งที่กล่าวมานี้จะช่วยลดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่นเบาหวานซึ่งอาจนำไปถึงความพิการทางสายตา หรือ ไตวายเป็นต้น
ที่พูดมานี้ ไม่ได้เป็นการต่อต้านใดๆ หรือไม่เห็นความสำคัญกับการทำวิจัยทางการแพทย์
เพราะการวิจัย เพื่อป้องกันโรค หรือรักษาโรคมีสำคัญมาก แต่อยากไห้มีวิจัยซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ไปด้วย ไม่ใช่จะมุ่งเน้นเพิ่มอายุเฉลี่ยอย่างเดียว
มาพยายามหาวิธีทำให้สังคมเรามีโรคป่วยเรื้อรังน้อยที่สุดและสั้นที่สุดกันดีกว่าครับ เราจะได้มีร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงไปจนวันสุดท้าย Dying Healthy
Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %